top of page

ห้องกุลสตรีที่งามพร้อม

Room of Exquisite Thai Lady

แนวคิดในการจัดห้องกุลสตรีราชินีบน

ห้องกุลสตรีแม่ศรีเรือน

Room of Thai Lady of the House

(๑) การนำเสนอกุลสตรีที่งามพร้อม

  • มีทักษะชีวิตของกุลสตรี ๔.๐  

  • รู้คุณค่าของกุลสตรีในโลกอนาคต

  • มีศักยภาพและความถนัดโดดเด่น

  • มีจิตสาธารณะ

(๑)การแสดงฝีมือแม่ศรีเรือน ๔.๐

  •  น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

(๒) การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทยและสากล

  • รักษ์ศิลปวัฒนธรรม

  • เทิดทูนสถาบัน

ห้องกุลสตรีรู้สากล

Room of International Literate Thai Lady

ห้องกุลสตรีมุ่งมั่นพัฒนาตน

Room of Self - Developed Thai Lady

(๑)การนำเสนอเส้นทางการพัฒนาตนเองสู่โลกอาชีพ

  • ค้นพบศักยภาพ ความถนัดและความสนใจของตนเอง

  • สะสมผลงานอย่างมีความหมาย

  • ก้าวสู่โลกอาชีพอย่างมีสุนทรียภาพ

(๑)นิทรรศการและนำเสนอโครงงานนักเรียน

  • มีความคิดเชิงนวัตกรรม (โครงงานสะเต็ม)

  • รู้สากล ๔ ประการ: ICT ภาษาต่างประเทศ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ

(๒) เสวนาและเกมปัญหาอาเซียน

  • AEC ร่วมมือรวมใจหรือแข่งขันต่อรอง

ความเป็นมา

     การจัดงานเปิดบ้านกุลสตรีราชินีบน ปีการศึกษา ๒๕๖๐ ในครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นในโรงเรียนราชินีบน เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรอิงอัตลักษณ์นักเรียน (Student Identity – Based Curriculum) ที่โรงเรียนพัฒนาขึ้นเป็นหลักสูตรสถานศึกษา มีชื่อว่า “หลักสูตรกุลสตรีราชินีบน หรือ Neoclassical Thai Lady Curriculum” ซึ่งประกาศใช้ ๒ ฉบับคือ ฉบับการศึกษาปฐมวัย และฉบับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในปีการศึกษา ๒๕๕๙ โดยหลักสูตรฉบับนี้ โรงเรียนนำกระบวนการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพหรือ Lesson Study through Professional Learning Community: LS-PLC) มาใช้เป็นยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร โดยมีเป้าหมายในการยกระดับอัตลักษณ์นักเรียนไปสู่ “กุลสตรีราชินีบนในศตวรรษที่ ๒๑” ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์ของโรงเรียน โดยมุ่งเน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนจากเชิงรับไปสู่เชิงรุก (Active Learning) เปลี่ยนแปลงกระบวนการพัฒนาครูจากการอบรมพัฒนาระยะสั้นไปสู่การเรียนรู้จากการปฏิบัติบนฐานปัญหาด้านการเรียนการสอนที่เกิดขึ้นในห้องเรียนด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน หรือ LS และสร้างบรรยากาศของโรงเรียนให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หรือ PLC ซึ่งโรงเรียนได้ดำเนินงานจนมีผลสำเร็จระดับหนึ่งดังรายละเอียดในบทความเรื่อง การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรอิงอัตลักษณ์นักเรียนที่บูรณาการการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ : กรณีศึกษาหลักสูตรกุลสตรีราชินีบน (link) และได้นำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง Research and Development of Neoclassical Thai Lady Curriculum by using Lesson Study through Professional Learning Community in Rajinibon School, Thailand (link) ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ World Association of Lesson Study (WALS) 2017 ที่เมืองนาโกยา ประเทศญี่ปุ่น

     ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นที่มาของการจัดงานเปิดบ้านกุลสตรีราชินีบน เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงศักยภาพและคุณลักษณะตามอัตลักษณ์กุลสตรีราชินีบนในศตวรรษที่ ๒๑ ให้เป็นที่รู้จักเข้าใจและยอมรับในแวดวงการศึกษาชาติและสาธารณชน

bottom of page